tDsigns
ยินดีต้อนรับท่านเข้าสู่ tDsigns.com

ท่านกำลังเข้าใช้งานเว็บบอร์ดในสถานะ "ผู้มาเยือน" ซึ่งไม่สามารถที่จะตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นใดๆได้

ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยสำหรับการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้งานที่ tDsigns แล้วท่านจะได้รับสิ่งดีดีกลับไป

tDsigns - Design by T ที่นี่เรามอบสิ่งดีดีให้คุณ..ด้วยใจ
tDsigns
ยินดีต้อนรับท่านเข้าสู่ tDsigns.com

ท่านกำลังเข้าใช้งานเว็บบอร์ดในสถานะ "ผู้มาเยือน" ซึ่งไม่สามารถที่จะตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นใดๆได้

ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยสำหรับการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้งานที่ tDsigns แล้วท่านจะได้รับสิ่งดีดีกลับไป

tDsigns - Design by T ที่นี่เรามอบสิ่งดีดีให้คุณ..ด้วยใจ

BIM BAM BOOM กับ SKETCHUP

Go down

BIM BAM BOOM กับ SKETCHUP Empty BIM BAM BOOM กับ SKETCHUP

ตั้งหัวข้อ by pomtiff Wed 05 Dec 2012, 11:38

" จริงๆ แล้วคำว่า BIM อาจจะไมเพียงพอที่จะอธิบายการทำงานของกระบวนการแบบใหม่นี้ได้เพียงพอ กระบวนการทำงาน BIM แม้จะเกิดขึ้นบนการทำงานเดียวกัน แต่เมื่อเวลาของโครงการเปลี่ยนไป กระบวนการทำงานของ BIM และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก็เปลี่ยนไปด้วยครับ ลองให้ผมช่วยอธิบายให้ทุกท่านได้ฟังกันดังนี้"


BIM (Building Information Modeling) สำหรับงานออกแบบ


ปัจจุบันมีการกล่าวถึง Building Information Modeling หรือ BIM กันมากขึ้น คําว่า BIM ได้ถูกนํามาใช้เพื่อเป็นตัวเเทนของกระบวนการทํางาน (Process) เเบบใหม่สําหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (Construction Industry) กระบวนการทํางาน BIM ช่วยให้การทํางานของทุกฝ่ายในโครงการก่อสร้างสามารถทํางานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การสร้างเเบบจําลองสามมิติของโครงการในคอมพิวเตอร์ช่วยให้วิศวกร (Engineer) ผู้รับเหมา (General Contractor) เเละเจ้าของโครงการ สามารถแลกเปลี่ยนแนวคิด ความต้องการ และข้อกำจัดของแต่ละฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามแบบโมเดลสามมิติอย่างเดียวก็คงจะไม่เพียงพอ เพราะว่า การทำงานโครงการก่อสร้างเต็มไปด้วยข้อมูลมากมายที่ยุ่งยากเเละซับซ้อน ตั้งแต่ราคาวัสดุ ข้อมูลวิศวกรรมด้านต่างๆ หรือแม้แต่ตารางการทำงานหรือแผนการเงินของผู้บริหาร ความยุ่งยากด้านการจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ ทําให้การทํางานเเบบเดิมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพื่อเเก้ปัญหา ข้อมูลทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับโครงการจะต้องถูกบันทึกเข้าไปในโมเดลสามมิติด้วยเพื่อนำไปใช้ในการแลกเปลี่ยนในกลุ่มทีมงานที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายในงานก่อสร้างผ่านการทํางานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยกระบวนการ BIM จึงหมายถึง (ในความคิดผม) การจัดการกระบวนการทํางานโครงการก่อสร้างบนโมเดลสามมิติ โมเดลสามมิติที่ถูกทําขึ้นนี้ไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นลักษณะทางกายภาพของโครงการ เเต่ยังเต็มไปด้วยข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ระบุไว้ในโมเดลโดยตรงเช่น ชนิดคอนกรีต ความหนากำแพง ประเภทของวัสดุ ยี่ห้อ และรุ่นเป็นต้น หรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่นอกโมเดลเช่น เอกสารต่างๆ ข้อมูลการเงิน TOR หรือรายงานต่างๆ ที่ถูกเชื่อมติดกับโมเดลโดย hyperlink หรือแม้แต่เทนโนโลยี Cloud computing


BAM (Building Assembly Modeling) สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง (General Contractor)


คุณค่าของ BIM ต่องานรับเหมาก่อสร้างก็เกิดขึ้นช่วงนี้แหละครับ ผู้รับเหมาหลัก (General contractor) และผู้รับเหมาต่อช่วง (Subcontractor) ก็จะใช้โมเดลสามมิติที่มีข้อมูลต่างๆ ครบที่ทำไว้นี้แหละ มาจัดการบริหารโครงการก่อสร้างให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

การนำโมเดลสามมิติมาแบ่งเป็นโซนๆ แล้วระบุทรัพยากร (Resources) เมื่อนำมารวมกันกับการสร้างภาพจำลองการก่อสร้างตามแผนงานและโซนต่างๆ ที่ได้กําหนดไว้ ผู้รับเหมาก็จะเห็นภาพในอนาคตล่วงหน้าก่อนการทํางานจริงจะเกิดขึ้น ดังนั้นผู้รับเหมาจะสามารถหาวิธีการทํางานบนหนทางที่ ประหยัด รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสูงสุด ดังนั้น BIM ในช่วงนี้ผมจึงเรียกว่า BAM เพราะผู้รับเหมาเป็นผู้สร้างและประกอบ (Assembly) งานก่อสร้างขึ้นครับ การทำงานช่วงนี้จึงใช้ประโยชน์จากแผนงาน (4D) แผนการเงิน (5D) และแผนความปลอดภัย รวมถึงการทำงานอย่างมีระบบจากทุกฝ่ายในงานก่อสร้างผ่านการทำงานด้วย BIM


**** ผมไปนั้งฟังสัมมนา BIM ระดับประเทศมาหลายครั้ง ผมยังมึนๆ เลยว่าที่จริงแล้วเขามาพูดเรื่องการขายโปรแกรมมากว่าเพราะ ผมยังไม่เห็นใครพูดถึงผลประโยชน์และการทำงานของ BAM ในช่วงงานก่อสร้างเลยครับ*****


BOOM (Building Operating Optimization Modeling) สำหรับเจ้าของโครงการเมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ

ในอดีตเมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ เจ้าของโครงการก็จะได้รับแค่าแบบพิมเขียวและเอกสารที่เต็มไปด้วยข้อมูลที่ยุ่งเหยิง สับสนวุ่นวาย งานก่อสร้างอาจจะยาวนานกว่า 2 ปี แต่เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จมันจะต้องอยู่ยาวนานไปอีก 30 ถึง 50 ปึ หรือมากกว่า แบบและข้อมูลอาจจะสูญหายไป หรือแม้แต่การ Update ตามสภาพจริงๆ เมื่อเวลาผ่านไปก็ยากที่จะทำได้

ใน BIM ทุกอย่างเปลี่ยนไป ภายหลังการส่งมอบงาน Owner จะได้รับโมเดลสามมิติที่อัดแน่นด้วยข้อมูลและการจัดการ ทั้งแบบ hyperlink หรือ Clound ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังผู้จัดการผู้ดูแลสิ่งก่อสร้างนั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบ " FACILITY MANAGEMENT หรือ FM" ลองหลับตานึกสิครับ ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะต้องเปลี่ยนหลอดไฟ ในตึกปีไหน หรือแอร์ในตึกมีกี่ตัว กี่ยี่ห้อ มันทำงานกันดีไหม แล้วเราจะตัองซ่อมแอร์ยังไง หรือช่างซ่อมท่อและระบบ Boiler ถือแบบพิมเขียวเข้าไปทำงานแล้วกลับพบว่าหน้างานไม่ตรงกับแบบเลย เพราะว่ามันซ่อมมาครั้งนึงแล้วแต่ดันไม่มีใคร Update แบบ ลืมตาขึ่นมาก็เห็นว่ามันวุ่นวายใช่ไหมครับ แต่ถ้าเราใช้ BIM ในการจัดการและ update ข้อมูลอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เป็นปัญหา การจัดการ FM บน BIM ผมบอกได้เลยว่าสุดยอกที่สุดแล้วครับ หวังว่ามันจะเกิดขึ้นจริงจังในไทยสักวัน

ดังนั้นในขั้นตอนนี้จะเห็นว่า OWNER จะนำ BIM ไปใช้ในการบริหารจัดการสิ่งก่อสร้างตลอดชั่วอายุขัยของสิ่งก่อสร้างนั้นๆ การจัดการที่ดี ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลลดลงได้อยากมาก ดังคำที่ว่า Building Operation Optimization Model

Sketchup สามารถทำงาน BIM BAM BOOM ได้นะครับ แม้จะไม่เป็นมาตรฐานก็ตาม
มาดูตัวอย่างที่
bimforwwt.blogspot.com

pomtiff
OP Mouse
OP Mouse

Male พิจิก เถาะ
จำนวนข้อความ : 2
คะแนนความดี : 7
ชื่อเสียง : 1
วันที่เข้าร่วม : 22/11/2012
อายุ : 48

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ